วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2558 เวลา 08.30-12.30



ความรู้ที่ได้รับ 

   วันนี้อาจารย์สอนร้องเพลงบะหมี่หมูสับเป็นเพลงเก็บเด็ก ที่จะทำให้เด็ก ๆอยู่ในความสงบและทบทวนเพลงเก่าของสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนั้นก็ร้องเพลงใหม่อีก 5 เพลง
1.เพลงดวงอาทิตย์ 
2.เพลงดวงจันทร์
3.เพลงรำวงดอกมะลิ 
4.เพลงดอกมะลิ
5.เพลงดอกกุหลาบ




สอนร้องเพลงใหม่


เนื้อเพลงใหม่

   เมื่อร้องเพลงเสร็จอาจารย์ก็ให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนของสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อทบทวนความจำว่าเรายังจำกันได้หรือไม


แบบทดสอบหลังเรียน

   ต่อมาก็เริ่มเข้าเนื้อหาบทเรียน ในแนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม มีทฤษฎีการเรียนรู้ของ skinner ทฤษฎีของ John B. Watson
- แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา ทฤษฎีของ Vygotsky ทฤษฎีของ Piaget
- แนวคิดกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย ทฤษฎีของ Arnold Gesell
- แนวคิดกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด ทฤษฎีของ Noam Chomsky 


บทเรียนที่ 2

   ขณะที่สอนที่อาจารย์สอนก็มี กิจกรรมคำลิ้นพันกัน สอดแทรกในเนื้อหาที่เรียน อาจารย์ได้ให้ตัวแทนเพื่อนในชั้นเรียนออกมาท่องประโยค โดยมีทั้งหมด 6 ประโยค กิจกรรมนี้ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการพูด การจำทางภาษาได้ดีมาก


กวางขาวเข้ากลางเขา คว้าขวานว้างกวางขาว

   เมื่อเรียนจบบทเรียน อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมสุดท้ายในวันนี้มีชื่อว่า กิจกรรมหนังสือเล่มใหญ่ อาจารย์ให้พวกเราช่วยคิดนิทาน พวกเราช่วยคิดเรื่อง ทะเลของหนู ขึ้นมาโดยอาจารย์จะให้นักศึกษาออกไปฝึกเขียนคนละ 1 บรรทัดเขียนแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมและให้เพื่อนที่เหลือช่วยกันคิดเนื้อเรื่องโดยสมมติว่าพวกเขาเป็นเด็กอนุบาล เมื่อแต่งนิทานเสร็จ 


นิทานเรื่อง ทะเลของหนู

   ต่อมาก็แบ่งกลุ่มเพื่อที่จะวาดภาพ ระบายสี เนื้อหานิทาน โดยที่ครูต้องเขียนเนื้อเรื่องไว้ให้เด็กๆ เด็กจะมีหน้าที่วาดรูประบายสีอย่างเดียว หลังจากนั้นพอเสร็จทุกหลุ่มก็เอามานั่งเรียงกันเล่านิทานเรื่องนี้ให้เด็กๆฟังอีกหนึ่งรอบและอาจารย์ก็เอานิทานไปทำเย็บเล่มให้สวยงามและนำมาจัดไว้ที่มุมหนังสือ เพื่อใช้ประโยชน์ในครั้งต่อไปได้



เพื่อนในกลุ่มช่วยวาดรูป ระบายสี



   เมื่อทุกกลุ่มวาดเสร็จแล้ว เราก็นำผลงานของทุกกลุ่มมาเรียงกันเป็นหนังสือเล่มใหญ่



ผลงานนิทาน ทะเลของหนู


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำความรู้ทางทักษะทางภาษาไปใช้ในการเรียนการสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็กๆ ได้
- สามารถนำการเสริมแรงทางบวกหรือคำชมเชยต่างๆ ชมเชยเด็กเมื่อทำดี เพื่อให้กำลังใจและตัวเด็กเองรู้สึกดี 
- สามรถนำการเสริมแรงทางลบหากเด็กทำผิดไม่ควรตี การตีควรเป็นวิธีสุดท้าย ถ้าเด็กทำผิดจริงๆเด็กๆจะได้รู้และไม่อยากทำอีก

การประเมินผล
ประเมินตนเอง        85%
ประเมินเพื่อน         95%
ประเมินอาจารย์      99%






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น