วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  14
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08.30-12.30



ความรู้ที่ได้รับ

   อาจารย์ให้ทำกิจกรรมกระตุ้นสมองซีกซ้ายซีกขวา นำเสนอนิทานเป็นกลุ่ม 



นำเสนองานกลุ่ม

   เมื่อนำเสนองานกลุ่มเสร็จ อาจารย์ให้ดูคลิป VDO ที่พี่ๆ ได้จัดทำขึ้นเป็นเพื่อศึกษาเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียน การสอน ของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์



คลิป VDO โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

   จากนั้นอาจารย์อธิบายถึงเนื้อหาบทเรียน เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา และสอนวิธีการเขียนแผนการสอน


เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา 


ตังอย่าง กิจกรรม การ์ดวันแม่


แบบฟอร์ม การเขียนแผนการสอน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การเขียนแผนทำให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กได้
การจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
- เปิดให้โอกาศเด็กได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง 

การประเมินผล
ประเมินตนเอง      82%
ประเมินเพื่อน        85%
ประเมินอาจารย์     95%





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  13
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08.30-12.30



ความรู้ที่ได้รับ

   ก่อนเรียนจะเริ่อมเรียนในบทเรียน วันนี้อาจารย์ได้เอาสมุดการฝึกเขียน แบบหัวกลมตัวเหลี่ยม ของครูมาให้ดู ซึ่งในสมุดจะให้เริ่มคัดตั้งแต่เส้นตรงไป และค่อยๆยากขึ้นไปเรื่อยๆ   


สมุดการฝึกเขียน แบบหัวกลมตัวเหลี่ยม


   หลังจากนั้น เริ่มเรียนในบทเรียน เรื่อง สื่อภาษาสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย


 สื่อภาษาสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย


  อาจารย์ก็จะให้ดูตัวอย่าง สื่อภาษาสร้างสรรค์ ที่อาจารย์แต่ง และรุ่นพี่ทำไว้ ทั้งมีความสร้างสรรค์ของเนื้อหา และความสวยงาม ทำให้เด็กๆสนใจ


ตัวอย่าง สื่อภาษาสร้างสรรค์


  เมื่อดูตัวอย่างเสร็จเรียนร้อยแล้ว อาจารย์ก็ให้พวกเราได้ทำงานสื่อภาษาสร้างสรรค์ อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน แล้วคิดเรื่องว่าจะทำปริศนาเรื่องอะไรดี กลุ่มหนูทำเรื่อง มะนาว 





ผลงานของกลุ่มเรา ฉันตั้งชื่อมันว่า ปิ๊ดปิ้ว


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำสื่อที่ได้ทำในวันนี้สามารถนำมาใช้จริงกับเด็กๆ 
- ช่วยฝึกการเขียนของครูให้มีความพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป 

การประเมินผล
ประเมินตนเอง      80%
ประเมินเพื่อน        85%
ประเมินอาจารย์     95%



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  12
วันพฤหัสบดีที่ 05 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08.30-12.30


ความรู้ที่ได้รับ

   ก่อนเรียนวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้เล่น ให้ฟังเสียงสัตว์และรอบสองฟังเสียงเครื่องดนตรี แล้วให้ทายเพื่อทดสอบการฟังของนักศึกษา สนุกดีค่ะ บ้างค่ะก็เดาถูก บางครั้งก็เดาผิด กิจกรรมต่อมา



กิจกรรม ทายเสียงปริศนา


   เกมเต้นตามพยางค์ชื่อจริง เพื่อฝึกการตื่นตัวและความจำ โดยรอบแรกอาจารย์ให้คิดท่าตามพยางค์ชื่อจริง และรอบสองเพื่อเพิ่มความอยาก จึงให้ทำท่าเพื่อนข้างหน้าก่อน แล้วจึงทำท่าตัวเอง เพื่อนๆในห้องสนุกสนานกันมากเลย  



เพื่อนๆ สนุกสนาน กมเต้นตามพยางค์


   ต่อมาอาจารย์ให้ทุกคน ร้องเพลง ที่ให้ไปฝึกซ้อมมาเป็นการบ้าน


เพื่อนๆ กำลังร้องเพลงในสัปดาห์ที่แล้ว


   หลังจากร้องเพลงเสร็จ  วันนี้อาจารย์ให้ฝึกเขียนอักษรหัวกลมตัวเหลี่ยม โดยใช้กระดานในรอบแรกให้ฝึกเขียนชื่อตัวเองและหาท่านั่งที่ถูกต้อง แล้วจึงเขียนประวัติส่วนตัวส่ง ถือว่าเป็นสิ่งที่ยากมากทีเดียวสำหรับฉัน เพราะฉันเขียนลายมือไม่สวยเอาเสียเลย



ผลงาน การเขียนแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำวีธีการเขียนแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมไปสอน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กๆ
การร้องเพลงเราก็ต้องร้องเพื่อสร้างความสนใจและเก็บเด็กได้ในการสอน

การประเมินผล
ประเมินตนเอง      80%
ประเมินเพื่อน        85%
ประเมินอาจารย์     90%








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  11
วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 08.30-12.30



ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนร้องเพลงในสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อทบทวนความจำ ก่อนเข้าสู่บทเรียนในวันนี้ 
 มีทั้ง  5  เพลง
1.เพลง อะไรเอ่ย
2.เพลง กระต่าย
3.เพลง ลูกสัตว์
4.เพลง นั่งรถไฟ
5.เพลง เรือพาย


เนื้อเพลงในวันนี้


   เมื่อร้องเพลงเสร็จแล้ว อาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้เล่น กิจกรรม เกมบอกต่อ เพื่อฝึกความจำ ไหวพริบและภาษา โดยให้เพื่อนคนแรกไปอ่านคำที่ได้ และส่งต่อๆมา ถึงเพื่อนคนสุดท้าย ถ้าเพื่อนคนสุดท้ายพูดประโยคนั้นได้ ก็จะชนะค่ะ


 กิจกรรม เกมบอกต่อ


   หลังจากเล่นเกมกันเสร็จแล้ว ก็เข้าสู่เนื่อหาบทเรียน เรื่องการสอนแบบโครงการและแบหน่วย ต่างกันอย่างไร




ตัวอย่าง การสอนแบบโครงการ เรื่องพิซซ่า


   อาจรย์เปิดคลฺิป VDO การเรียนการสอบแบบโครงการ ของโรงเรียนเกษมพิทยา ให้ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น


การสอนแบบโครงการ โรงเรียนเกษมพิทยา


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำวีธีการสอนแบบโครงการไปบูรณาการความรู้ การสอนได้ในอนาคตได้
- การสอนแบบโครงการ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
- การสอนแบบโครงการ ฝึกให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหาและการตั้งคำถาม

การประเมินผล
ประเมินตนเอง      90%
ประเมินเพื่อน        85%
ประเมินอาจารย์     90%




วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  10
วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 08.30-12.30



ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ติดประชุมในตอนเช้า  อาจารย์จึงได้สั่งงานให้พวกเราทำไม้ชี้แผ่นชาร์จรอ โดยอาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์ไว้ให้แล้ว ส่วนตัวดิฉันเลือกที่จะทำเป็นรูป จรวด  เพราะดูแล้ววาดง่าย และขนาดรูปก็ไม่ใหญ่เกินไปจนบังตัวอักษร



ผลงานของดิฉันเองค่ะ จรวด

  เมื่อวาดรูปเสร็จ อาจารย์ก็มาพอและได้ทบทวนวิธีการสอนร้องเพลง และสอนวิธีการใช้ไม้ชี้ที่ถูกต้องวิธี


อาจารย์ทบทวนวิธีการสอนร้องเพลง

หลังจากนั้น อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปทดลองสอนร้องเพลงหน้าชั้นเรียน 
 

กลุ่มดิฉันเอง สอนร้องเพลง สายรุ้ง



เพลง สายรุ้ง


ผลงานของเพื่อนๆ


ผลงานของเพื่อนในกลุ่มและคุณครู


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ไม่ควรวาดรูปใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้บังตัวอักษร และเด็กจะสนใจไม้มากกว่าเนื้อหาที่ต้องเรียน
- ขณะที่ครูพูดสอนครูควรใช้ไม้ชี้ตามด้วย
- ก่อนจะสอนเด็กครูควรเก็บเด็กก่อน เช่นการร้องเพลง เพื่อให้อยู่ในความสงบเรีบยร้อย
- การร้องเพลงให้เด็กฟังจะร้องทั้งหมด 4 รอบ
รอบที่ 1  ครูต้องร้องให้เด็กฟังก่อน โดยไม่ใส่ท่า
รอบที่ 2  สอนเด็กๆให้ร้องตามทีละท่อน
รอบที่ 3  ครูและเด็กร้องพร้อมกัน
รอบที่ 4  ครูและเด็กร้องพร้อมกัน และใส่ท่าทางประกอบด้วย

การประเมินผล
ประเมินตนเอง    88%
ประเมินเพื่อน      90%
ประเมินอาจารย์   99%



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  9
วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 08.30-12.30



ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มออกมาฝึกสอนคำคล้องจองหน้าชั้นเรียน และก่อนทำกิจกรรมคำคล้องจอง อาจารย์ได้มาสาธิตให้พวกเราดูก่อน จากนั้นก็ให้เวลาเแต่ละกลุ่มฝึกซ้อม เพื่อออกมาทดลองสอน และให้แต่ละกลุ่มคิดคำถามเกี่ยวกับคำคล้องจองให้เด็กตอบคำถาม 
โดยมีทั้งหมด 5 กลุ่ม
 1. คำคล้องจองไดโนเสาร์
 2. คำคล้องจองสายรุ้ง
 3. คำคล้องจองขนมไทย
 4. คำคล้องจองดวงดาว
 5. คำคล้องจองหอยทาก



สาธิตการสอน


ผลงานคำคล้องจอง สายรุ้ง


ฝึกสอนหน้าชั้นเรียน

   แต่ละกลุ่มออกมาฝึกสอนคำคล้องจองของแต่ละกลุ่มด้วยความสนุกสนานจนครบทุกกลุ่ม ต่อมาอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มแต่งเพลงโดยใช้หัวข้อเดียวกับการทำคำคล้องจอง เพลง สายรุ้ง โดยใช้ทำนองเพลง นกเขา


ผลงานเพลง สายรุ้ง


สมาชิกในกลุ่ม สายรุ้ง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การแต่งเพลงไม่ควรยาวเกินไป ทำให้เด็กเบื่อไม่อยากฟัง
- การแต่งเพลงควรใช้คำศัพท์ที่ง่ายๆ ไม่ยาวเกินไป
- ครูให้ความสำคัญกับการตอบคำถามของเด็กให้เด็กยกมือตอบคำถาม คุณครูก็เรียกชือน้องที่ตอบ แล้วครูก็ทบทวนคำถามคำตอบว่าถูกหรือครูอธิบายเพิ่มเติม 

การประเมินผล
ประเมินตนเอง      85%
ประเมินเพื่อน       96%
ประเมินอาจารย์    95%



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  8
วันพฤหัสบดีที่ 08 ตุลาคม 2558 เวลา 08.30-12.30



ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมในวงให้เล่นก่อนเรียน กิจกรรมในวงกลมให้ทำโดยการร้องเพลง รำวงดอกมะลิ  และให้ทำท่าทางประกอบจังหวะไปด้วย  หลังจากนั้นอาจารย์ก็สอนการแต่งคำคล้องจอง 


รำวงดอกมะลิ 



หลังจากนั้นอาจารย์ก็สอนการแต่งคำคล้องจอง โดยให้แบ่งกลุ่มทำงาน ให้แต่ละกลุ่มคิดหัวข้อที่จะเขียนคำคล้องจอง แล้วก็ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกไปจับฉลาก กลุ่มของดิฉันคิดได้หัวข้อ " รุ้ง " เมื่อได้หัวข้อแล้วอาจารย์ก็อนุญาติให้เปิดหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ เพื่อนำความรู้มาเขียนเป็นแผนผัง เมื่อเขียนเสร็จเราก็ต้องมาดูกันว่าหัวข้อที่เราทำแผนผังไปนั้น หัวข้อไหนที่เราสามารถนำมาสอนเด็กได้ แล้วอาจารย์ก็ให้เวลาในการแต่งคำคล้องจอง เมื่อแต่งเสร็จเราก็นำคำคล้องจ้องที่เราแต่งได้มาเขียนลงในกระดาษ


แผนผัง สายรุ้ง


อาจารย์ให้คำปรึกษา


เขียนคำคล้องจองลงกระดาษแผ่นใหญ่


   เมื่อทำคำคล้องจองเสร็จอาจารย์ก็ได้อธิบาย ยกตัวอย่างการเขียนคำคล้องจ้องที่ถูกวิธีและการตกแต่งให้ดูสวยงาม การใช้รูปภาพแทนคำโดยไม่ต้องมีตัวอักษรเลย หรือ การเขียนทั้งภาพเขียรทั้งตัวอักษร 



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- การแต่งคำคล้องจองที่เหมาะกับเด็กเล็กคือมีทั้งภาพและตัวอักษรเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับคำ
การอ่านคำคล้องจองให้เด็กฟังจะอ่าน 3 รอบ คือ 
รอบที่ 1  ครูอ่านให้ฟัง
รอบที่ 2  เด็กอ่านไปพร้อมกับครู
รอบที่ 3  ให้เด็กอ่านเอง โดยการอ่านทุกรอบครูต้องชี้ตัวอักษรให้กับเด็ก 

การประเมินผล
ประเมินตนเอง      85%
ประเมินเพื่อน       96%
ประเมินอาจารย์    95%